วิธีการเลี้ยงไหม


ตัวไหม 
เริ่มเลี้ยงกันตั้งแต่ยังเป็นไข่เล็กๆ เท่าปลายเข็ม จนเติบโตเป็นตัวหนอน ไหมวัยอ่อน และวัยแก่ ตัวไหมเป็นตัวอ่อนของแมลงจำพวกผีเสื้อชนิดหนึ่งที่เมื่อถึงวัยจะผลิตใยไหมออกมาห่อหุ้มตัวเป็นรังไหมพันธุ์พื้นบ้านที่ชาวบ้านเลี้ยงกันอยู่เป็นเพันธุ์ไหมที่ฟักได้ตลอดปีเมื่อตัวหนอนเติบโตจะมีลักษระสีขาวนวลและเมื่อแก่ขึ้นจะมีสีเหลืองเพื่อทำรัง รังไหมจะเป็นสีเหลือง

การเพาะเลี้ยงตัวไหม
ไหมเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์แบบวงจรของชีวิตตัวไหมจะเริ่มต้นจากไข่ ฟักเป็นตัวหนอนไหมในระยะเป็นตัวหนอนไหมจะลอกคราบ 4 ครั้ง พอหนอนไหมแก่เข้าก็จะชักใยทำรังหุ้มตัวเองแล้วตัวไหมจะลอกคราบเป็นดักแด้อยู่ในรังพอครบอายุดักแด้ก็จะกลายเป็นผีเสื้อเจาะรังออกมาผสมพันธุ์กัน พร้อมทั้งวางไข่ฟักเป็นตัวหนอนต่อไป วนเวียนกันอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

เครื่องมือที่ใช้ในการเลี้ยงไหม ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไหมเองโดยมีอุปกรณ์ ที่ใช้ ดังนี้
1. กระด้ง ใช้สำหรับใส่ตัวหนอนไหม
2. จ่อ ใช้สำหรับใส่หนอนไหมวัยแก่เพื่อเตรียมชักใย
3. ชั้นสำหรับวางกระด้ง เพื่อเตรียมไว้วางกระด้งพักตัวไหม
4. ผ้าคลุมกระด้ง ใช้คลุมตัวหนอนไหมเพื่อไม่ให้แมลงมาไข่
5. มีด ใช้สำหรับหั่นใบหม่อนให้หนอนไหมวัยอ่อน
6. ตะกร้าสำหรับเก็บใบหม่อน ใช้เก็บใบหม่อนมาให้หนอนไหมกิน
7. กระบะสำหรับฟักใบหม่อน ใช้สำหรับเก็บใบหม่อนไว้ให้ได้มากๆ เพื่อทยอยให้หนอนไหมกินโดยไม่ต้องเก็บบ่อยๆ
8. ที่ปัดแมลงวัน เพื่อใช้ไล่แมลงขณะที่ให้อาหารหนอนไหม

1.การปลูกต้นหม่อน
การปลูกต้นหม่อนสำหรับเลี้ยงไหมจะต้องมีการจัดการดูแลให้ใบหม่อนมีปริมาณเพียงพอต่อการเลี้ยงไหมในแต่ละรุ่นและเหมาะสมกับไหมในแต่ละวัยเพื่อให้ไหมที่เลี้ยงมีความแข็งแรงเนื่องจากได้ธาตุอาหารที่เหมาะสมการปลูกหม่อน ควรเลือก ที่ดินที่มีความชุ่มชื้นพอแต่น้ำไม่ท่วม หรือไม่ขัง จากนั้นก็เตรียมดินโดยการไถพรวนให้เรียบร้อย

พันธุ์หม่อน

พันธุ์นครราชสีมา 60
* เป็นพันธุ์หม่อนลูกผสมระหว่างหม่อนพันธุ์ Shujakuich No.18× พันธุ์แก้วชนบท
* ให้ผลผลิตใบ 3,600 กก./ไร่/ปี
* ใบนุ่มหนาและเหี่ยวช้า
* ต้านทานต่อโรคราแป้ง
* ทนแล้งได้ดี เหมาะกับเขตเกษตรอาศัยน้ำฝน
* นาย พินัย ห้องทองแดง และคณะเป็นผู้สร้างพันธุ์
* ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อเดือนตุลาคม 2530

พันธุ์บุรีรัมย์
* เป็นพันธุ์หม่อนลูกผสมระหว่างหม่อนพันธุ์ Lunjiao No.44× พันธุ์น้อย
* ให้ผลผลิตใบ 4,300 กิโลกรัม/ไร่/ปี
* ใบใหญ่หนานุ่ม
* ต้านทานโรคใบด่างและราแป้ง
* เหมาะกับเขตเกษตรชลประทาน
* ท่อนพันธุ์ออกรากง่าย
* นาย เธียรศักดิ์ อริยะ และคณะเป็นผู้สร้างพันธุ์
* ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อเดือนตุลาคม 2530

พันธุ์บุรีรัมย์ 51
* เป็นพันธุ์หม่อนลูกผสมระหว่างหม่อนพันธุ์ Lunjiao No.44× พันธุ์น้อย
* ให้ผลผลิตใบ 1,960 กิโลกรัม/ไร่/ปี ในสภาพท้องถิ่น
* ทนแล้งได้ดี เหมาะกับเขตเกษตรอาศัยน้ำฝน
* ท่อนพันธุ์ออกรากง่าย
* นาย เธียรศักดิ์ อริยะ และคณะเป็นผู้สร้างพันธุ์
* ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อเดือนมิถุนายน 2541

พันธุ์ศรีสะเกษ 33
* เป็นพันธุ์หม่อนลูกผสมเปิดจากพันธุ์ Jing (jing Mulberry)
* ให้ผลผลิตใบ 1,500 กิโลกรัม/ไร่/ปี ในสภาพท้องถิ่น
* ใบนุ่มหนาและเหี่ยวช้า
* ต้านทานโรคใบด่างได้ดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และพันธุ์นครราชสีมา 60
* โปรตีนในใบสูงกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 และพันธุ์นครราชสีมา 60
* ใบร่วงช้าและเหี่ยวช้ากว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60
* นายประทีบ มีศิลป์ และคณะเป็นผู้สร้างพันธุ์
* ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อเดือนกันยายน 2541

พันธุ์สกลนคร
* เป็นพันธุ์หม่อนลูกผสม Triploid ระหว่างหม่อนพันธุ์คุณไพ (Tetraploid) × พันธุ์ Lun 40
* ให้ผลผลิตใบ 3,500 กิโลกรัม/ไร่/ปี
* ทนแล้วได้ดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 จึงเหมาะกับเขตเกษตรอาศัยน้ำฝน
* ทนทานต่อเพลี้ยไฟและโรคใบต่างๆ
* เจริญเติบโตรวดเร็วหลังตัดแต่ง
* ท่อนพันธุ์ออกรากง่าย
* นายประชาชาติ นพเสนีย์ และคณะเป็นผู้สร้างพันธุ์
* ผ่านการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อเดือนมีนาคม 2549

หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่
* เป็นพันธุ์หม่อนนำเข้ามาปลูกในเขตภาคเหนือของประเทศไทย
* ให้ผลผลิตผลสดไม่ต่ำกว่า 1,000 กิโลกรัม/ไร่/ปี
* ผลมีขนาดใหญ่และปริมาณกรดสูง เหมาะสำหรับบริโภคและแปรรูป
* สามารถกำหนดเวลาให้ผลผลิตผลสดได้ด้วยวิธีบังคับให้ออกดอกติดผลนอกฤดูกาล
* ท่อนพันธุ์ออกรากง่าย
* นายสถาพร วงศ์เจริญวนกิจ และคณะเป็นผู้ขอรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์แนะนำเมื่อเดือนมีนาคม 2549


Creative Commons License
ผ้าไหมไทย by อินทิรา is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น