กระบวนการทำให้เกิดสี



● การย้อมสีไหม
     อย่างแรกเตรียมเส้นไหมโดยการฟอกให้ขาว วิธีการฟอกไหมแบบพื้นเมืองของชาวบ้านนั้นจะใช้ผักขม เหง้ากล้วย ใบกล้วย ก้านกล้วย งวงตาล ไม้ขี้เหล็ก ใบเพราะ ทั้งหมดนี้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ นำมาหั่นฝานให้บางตากแดดให้แห้งแล้วเอาไปเผาจนกระทั่งเป็นเถ้า จากนั้นจึงนำเถ้าไปแช่ในน้ำตากทิ้งไว้จนเถ้านอนก้นแล้วจึงเอาไหม ที่จะฟอกลงไปแช่ในน้ำด่าง พอไหมเปียกชุ่มดีแล้วก็เอาใส่หม้อต้มจนได้เวลาพอสมควรจากนั้นนำไหมขึ้นจากหม้อไปแช่น้ำเย็นล้างให้สะอาด สรงไหขึ้นจากน้ำ ใช้มือกระแทกให้ไหมหายยุ่งแล้วใส่ไหมลงในตะกร้า เขย่าให้แห้งหมาดแล้วจึงนำไปผึ่งแดดให้แห้ง หากไหมยังไม่สะอาดก็เอาไปแช่น้ำด่างตามวิธีเดิมอีกครั้ง แล้วนำไปย้อมเขก่อนนำไปย้อมให้เป็นสีต่างๆต่อไป

๑.) วิธีการย้อมเข
     อย่างแรกขุดเอารากเขท่อนประมาณเท่าแขนมาผ่าให้เป็นเสี้ยน ตากแดดให้แห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำสะอาดจนเดือดถ้าน้ำกลายเป็นสีเหลืองเข้มๆจึงยกลงและนำเอาน้ำสีมากรองให้ชิ้นเขออกจากน้ำสีหม้อแรกเอาเขที่กรองหม้อแรกใส่หม้อน้ำต้มต่อไปจนได้น้ำสีจากเขซึ่งอ่อนกว่าน้ำสีหม้อแรก ทำแบบเดียวกันจนครบ ๓ ครั้ง ก็จะได้น้ำสีเป็น ๓ หม้อ มีสีเรียงตามลำดับตั้งแต่อ่อนจนถึงแก่สุดเมื่อได้แล้วก็นำไหมที่เตรียมไว้ลงจุ่มในน้ำสีหม้อที่ ๓ (สีที่อ่อนสุด) กวนไปกวนมาเพื่อให้น้ำสีเข้าไปในเส้นได้ทั่วถึงไม่ให้ด่างแล้วยกขึ้นจากหม้อที่ ๓ บิดพอหมาดนำไปจุ่มในหม้อสอง และหม้อแรกทำแบบเดียวกันจนครบ ๓ หม้อ นำมาซักสะอาดจนสีไม่ตก จึงนำมากระแทกเพื่อให้เส้นแตกออกจากกัน (เพื่อให้ไม่เป็นปมสะดวกแก่การกรอเข้าเป็นเส้นเข้าหลอด) แล้วนำไปตากแห้ง

๒.) วิธีย้อมสะตี
สะตีเป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นเถาขึ้นอยู่ตามที่ทั่วๆไป โดยเฉพาะตามรั้วหรือกำแพงจะพบมากกว่าที่อื่นๆ ลักษณะเป็นเถาและใบมีลักษณะคล้ายใบตำลึงมีผลแดงๆ ข้างใน ใช้เมล็ดแดงๆ
เหล่านี้ มาต้มจนกว่าสีภายในเม็ดจะออกเป็นสีแดงเข้ม นำไปกรองให้สะอาดแล้วนำเส้นใยที่เตรียมลงไว้ไปย้อม โดยแกว่งไปมาจนสีที่ย้อมนั้นติดดีและจึงบิด ซักน้ำสะเดนำไปขึ้นราวตากให้แห้ง
  Creative Commons License
ผ้าไหมไทย by อินทิรา is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น