กว่าจะมาเป็นผืนผ้า


ตัวหนอนถักทอใย
ที่มาแห่งผืนผ้าเริ่มจากชีวิตของหนอนไหม โดยมีพันธุ์ไหมอยู่ด้วยกัน ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ พันธุ์ไทยพื้นเมือง เป็นพันธุ์ที่ชาวบ้านส่วนใหญ่เลี้ยง พันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ ชื่อก็คงบอกว่านำมาจากต่างประเทศ และสุดท้ายพันธุ์ไทยลูกผสม เป็นพันธุ์ที่ผสมกันระหว่างสองพันธุ์แรก ซึ่งแต่ละพันธุ์ก็ให้สีเส้นใยที่ต่างกัน โดยพันธุ์ไทยที่ให้สีเหลือง พันธุ์ต่างประเทศให้สีขาว ส่วนพันธุ์ผสมให้ทั้งสองสี ตัวที่บ่งบอกได้ว่าหนอนไหมตัวนั้นจะชักใยสีเหลืองหรือสีขาวก็คือสีที่ขาของหนอนไหมตัวนั้นนั่นเอง

ย้อมลายหลอกสี
หลังจากได้ไหมที่ได้จากการสาวแล้วเราจะได้เส้นไหมดิบที่มีสีเหลืองหรือขาว หากเราจะนำเส้นไหมดิบนี้ไปทอเป็นผืนผ้าไหม ผ้าไหมเหล่านี้ก็คงจะมีแค่เพียงสองสี ดังนั้นชาวบ้านจึงคิดการย้อมสีใหม่ขึ้น แม้ในปัจจุบันยุคสมัยทำให้สังคมเปลี่ยนไป แต่การย้อมสีไหมของชาวจังหวัดชัยภูมิใช่ว่าจะเปลี่ยนตามไปด้วย การย้อมสีไหมยังคงมีการย้อมด้วยสีธรรมชาติ ถึงแม้การย้อมด้วยสีเคมีจะเข้ามามีบทบาทมาก เพราะให้ทั้งความสะดวก รวดเร็วและสีที่สดกว่าก็ตาม

การย้อมด้วยสีธรรมชาติเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ทำให้ผ้าไหมดูมีคุณค่า เพราะกรรมวิธีในการย้อมจะยากกว่า โดยสีธรรมชาติที่ได้มาจากวัตถุดิบทางธรรมชาติทั้งสิ้น เช่น แก่นขนุน และไม้ไขให้สีเหลือง ไม้ฝางและครั่งให้สีแดง ใบหูกวางให้สีเขียว กาบมะพร้าวให้สีเทาดำ แต่ละชนิดจะมีวิธีการซึ่งจะให้มาด้วยสีที่แตกต่างกันออกไป

* แก่นขนุน ไม้เข ไม้ฝาง ใบหูกวาง ต้องนำมาต้มนานนับ ๑๐ ชั่วโมง ให้เหลือหนึ่งในสามจากเดิม
* ครั่ง นำมาบดแล้วผสมกับน้ำมะขามเปียก เพื่อให้สีติดทนนาน
* กาบมะพร้าว นำไปแช่น้ำและใส่สนิมเหล็กลงไป ใช้เวลาถึง ๑๐ วันกว่าจะได้สีที่ต้องการ

ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นแม่สี เราสามารถใช้แม่สีเหล่านี้ผสมกันเป็นสีอื่นๆได้อีก
ขั้นตอนการย้อมสีเริ่มจากการนำน้ำสีที่ได้ส่วน ประมาณครึ่งขันมาย้อมกับเส้นไหมที่ได้แยกกาวแล้ว โดนใช้ขวดเปล่าทุบเส้นไหมเพื่อให้สีซึมเข้าไปก่อน แล้วจึงนำมาต้มกับสีอีกทีหนึ่ง ใช้เวลาต้มประมาณ ๓๐-๔๐ นาที เสร็จแล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาด ๓-๔ ครั้ง

อิทธิพลจากสัตว์
 ชาวบ้านได้ความคิดที่จะประดิษฐ์ลวดลายเกี่ยวกับสัตว์ขึ้นมา แสดงถึงความละเอียดอ่อนของความนึกคิดของผู้สร้างงาน มีหลายลายได้แก่ ลายแมงป่อง ลายตะขาบ ลายรังผึ้ง ลายม้า ลายนกยูง ลายไก่ ลายสิงโต ลายอึ่ง ลายช้าง ลายหางกระรอก ลายนก ขอแมงมุม ขิดคน ลายผีเสื้อ
  Creative Commons License
ผ้าไหมไทย by อินทิรา is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น